บทความ

การค้าสินค้าเกษตรในประชาคมรัฐเอกราช (CIS)

รูปภาพ
การค้าสินค้าเกษตรในประชาคมรัฐเอกราช (CIS)              นโยบายการค้าสินค้าเกษตรในประเทศประชาคมรัฐเอกราช ซึ่งในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปแลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังการใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียในปี ค . ศ . 2014 ทั้งในด้านโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร และความสัมพันธ์ของประเทศในกลุ่มเครือรัฐเอกราช การสร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรในประเทศเครือรัฐเอกราช ทำให้ความสัมพันธ์ในกลุ่มประเทศ ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นทั้งในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อกระจายตลาดเกษตร เนื่องจากเกิดมุมมองใหม่ในการส่งออกสินค้าเกษตร ที่อาจเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับการเติบโตโดยรวมของภาคเกษตรในกลุ่มประเทศประชาคมรัฐเอกราช           การเปลี่ยนแปลงในการค้าสินค้าเกษตรของประเทศ CIS (The Commonwealth of Independent States) กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช เกิดจาก การรวมตัวกันของบรรดาประเทศเกิดใหม่ที่แยกตัวมาจากอดีตสหภาพโซเวียตเมื่อปลายปี ค . ศ . 1991 ปัจจุบันมีสมาชิกรวม 12 ประเทศ คือ รัสเซีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน เบลารุส จอร์เจีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน มอลโดวา ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน ยูเครน และเบกิสถาน

วิกฤตการณ์ทางการเมืองในปี ค.ศ. 1993 (ตอนที่ 2)

รูปภาพ
         รัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย   ค . ศ . 1993      ชัยชนะอย่างเด็ดขาดของประธานาธิบดีเยลต์ซินที่มีเหนือฝ่ายรัฐสภานั้น ยังไม่ใช่ชัยชนะสูงสุดทางการเมืองของเขาอย่างแท้จริง   แต่ชัยชนะสูงสุดทางการเมืองของเขาเกิดขึ้นในวันที่  12  ธันวาคม  ในปี ค . ศ . 1993  ซึ่งเป็นวาระที่รัฐธรรมนูญใหม่ของสหพันธรัฐรัสเซียได้รับการรับรองต่างหาก           ภายหลังเหตุการณ์การรัฐประหารที่นองเลือด ในปี ค . ศ .1993 ประธานาธิบดีเยลต์ซินได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่และให้มีการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในวันที่ 12 ธันวาคม ค . ศ .1993 ซึ่งหากจะกล่าวไปแล้ว พรรคการเมืองบางส่วนยังไม่พร้อมสำหรับการเลือกตั้ง นอกจากนี้รัฐบาลที่มี ดร . เยียกอร์ ไกดาร์ เป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้เข้าควบคุมสถานีโทรทัศน์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือ “ พรรคทางเลือกของรัสเซีย ” (Russia’s Choice)  อันเป็นพรรคการเมืองที่สนับสนุนนายเยลต์ซิน อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลืกตั้งนั้นผลการสำรวจความคิดเห็นโดยการสุ่มตัว อย่างผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง (Poll) ผลปรากฏว่า “ พรรคเสรีประชาธิปไตยแห่งรัสเซ

วิกฤตการณ์ทางการเมืองในปี ค.ศ. 1993 (ตอนที่ 1)

รูปภาพ
 วิกฤตการณ์ทางการเมืองในปี ค.ศ. 1993   เมื่อสหภาพโซเวียตสลายตัวลง เยลต์ซินยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียจนเขาลาออกในปลาย ค . ศ .1999 ก็เริ่มโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจทันทีในวันที่ 2 มกราคม  ในปี  ค . ศ . 1992  เยกอร์  ไกดาร์ (Yegor Gaidar) รองประธานาธิบดีซึ่งสันทัดด้านเศรษฐกิจได้ประกาศลอยตัวราคาสินค้าต่างๆกว่าร้อยละ 90 ซึ่งรวมทั้งขนมปัง วอดก้า ค่าโดยสารและค่าขนส่งตลอดจนค่าน้ำมัน ก๊าซ และพลังงานอื่นๆ อีกทั้งรัฐยังยกเลิกเงินสนับสนุนอุตสาหกรรมและรัฐวิสาหกิจและออกกฎหมายล้มละลายที่กำหนดว่ารัฐวิสาหกิจที่ไม่มีประสิทธิภาพต้องปิดตัวลง  การปล่อยสินค้าให้ลอยตัวมีเป้าหมายจะล้มล้างระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี โดยให้ราคาสินค้าเป็นไปตามกลไกการตลาดและเพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรทั้งหมดของระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอันจะก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันรัฐบาลเน้นให้ความเข้มงวดนโยบายการคลังและการเงินเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง มีการตัดค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนาอาวุธควบคุมการปล่อยสินเชื่อในระบบอย่างเคร่งครัด กำหนดมาตรการเพิ่มภาษีและอื่นๆแต่ราคาสินค้าที่ถีบตัวสูงขึ้นทุ