วิกฤตการณ์ทางการเมืองในปี ค.ศ. 1993 (ตอนที่ 2)


        รัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย .. 1993    



ชัยชนะอย่างเด็ดขาดของประธานาธิบดีเยลต์ซินที่มีเหนือฝ่ายรัฐสภานั้น ยังไม่ใช่ชัยชนะสูงสุดทางการเมืองของเขาอย่างแท้จริง แต่ชัยชนะสูงสุดทางการเมืองของเขาเกิดขึ้นในวันที่ 12 ธันวาคม ในปี.. 1993 ซึ่งเป็นวาระที่รัฐธรรมนูญใหม่ของสหพันธรัฐรัสเซียได้รับการรับรองต่างหาก

        ภายหลังเหตุการณ์การรัฐประหารที่นองเลือด ในปี ..1993 ประธานาธิบดีเยลต์ซินได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่และให้มีการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในวันที่ 12 ธันวาคม ..1993 ซึ่งหากจะกล่าวไปแล้ว พรรคการเมืองบางส่วนยังไม่พร้อมสำหรับการเลือกตั้ง นอกจากนี้รัฐบาลที่มี ดร.เยียกอร์ ไกดาร์ เป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้เข้าควบคุมสถานีโทรทัศน์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือพรรคทางเลือกของรัสเซีย” (Russia’s Choice) อันเป็นพรรคการเมืองที่สนับสนุนนายเยลต์ซิน อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลืกตั้งนั้นผลการสำรวจความคิดเห็นโดยการสุ่มตัว อย่างผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง (Poll) ผลปรากฏว่าพรรคเสรีประชาธิปไตยแห่งรัสเซีย” (Liberal Democratic Party of Russia) ที่มีนายซิรินอฟสกี้ (Zhirinovsky) เป็นหัวหน้าพรรคกลับเป็นพรรคที่มีคะแนนนำโดยที่พรรคการเมืองของรัสเซียได้รับความนิยมต่ำ ทั้งนี้กลุ่มผู้ที่ต่อต้านนายเยลต์ซินส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์และกลุ่มชาตินิยม เนื่องจากทั้งสองกลุ่มนี้ไม่ชอบแนวทางการปฏิรูปของนายเยลต์ซิน โดยเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการทรยศต่อชาติบ้านเมือง เพราะเป็นการเข้าไปเข้ากับฝ่ายทุนนิยมตะวันตกและพวกเขายังไม่ลืมว่าการกระทำของนายเยลต์ซินมีส่วนทำให้สหภาพโซเวียตต้องล่มสลาย

        แม้ว่าในการกำหนดวันเลือกตั้งครั้งนี้จะยังมีพรรคการเมืองส่วนหนึ่งที่ยังไม่พร้อมสำหรับการเลือกตั้งแต่ก็มีพรรคการ เมืองส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งไม่น้อย ที่สำคัญก็ได้แก่ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งรัสเซีย (CPRF: Communist Party of the Russian Federation) พรรคเกษตรกรรม (Agrarian Party) พรรคยาบลากา (Yabloko) พรรคผู้หญิงแห่งรัสเซีย (Woman of Russia) พรรคเอกภาพและความร่วมมือแห่งรัสเซีย (Party of Russia’s Unity and Concord) นอกจากนี้แล้วในการเลือกตั้งระบบแบบแบ่งเขตเลือกตั้งก็ยังมีผู้สมัครอิสระลงสมัครรับเลือกตั้งอีกเป็นจำนวนมาก

    ผลการเลือกตั้งในวันที่ 12 ธันวาคม ในปี .. 1993 ปรากฏว่าผิดความคาดหมายของผู้เชี่ยวชาญทางการเมืองรัสเซียโดยสิ้นเชิงเพราะพรรคทางเลือกของรัสเซียกลับได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมากกว่าพรรคเสรีประชาธิปไตยแห่งรัสเซียอีกด้วย นอกจากชัยชนะในด้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วในการลงประชามติเพื่อรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็จบลงที่ประชาชนให้การรองรับรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่นี้ หากจะกล่าวไปแล้วชัยชนะของประธานาธิบดีเยลต์ซิน ที่มีต่อรัฐสภานั้น ไม่ได้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยที่ได้เกิดขึ้นมาใหม่ในสหพันธรัฐรัสเซีย ความพ่ายแพ้ของรัฐบาลชุดเก่าเกิดขึ้นเพราะมีการลงประชามติที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นหลักเนื่องด้วยรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นรัฐ ธรรมนูญที่ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีอย่างกว้างขวางมาก นอกจากนี้ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ รัฐสภาประกอบด้วย 2 สภา ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร (state Duma) และสภาของสหพันธ์ (Federation Council)

    ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ในปี ..1993 ประธานาธิบดีมีวาระการดำรงตำแหน่ง ครั้งละ 4 ปี และอยู่ในตำแหน่งได้ 2 วาระ อำนาจของประธานาธิบดีนั้นมีอยู่อย่างมากมายโดยอำนาจของประธานาธิบดีที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

  1. ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณารับรองโดยในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนี้ สภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถปฏิเสธผู้ที่ประธานาธิบดีเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรีได้มากกว่า 2 ครั้ง หากสภาผู้แทนราษฎรปฏิเสธชื่อที่ประธานาธิบดีเสนอให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่3 ประธานาธิบดีมีสิทธิยุบสภาผู้แทนราษฎรได้ และสามารถแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร
  2. ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรี รวมทั้งนายกรัฐมนตรี
  3. ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งผู้บัญชาการกองทัพ
  4. ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกา
  5. ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งผู้บริหารของเขตการปกครองต่างๆ
  6. ประธานาธิบดีมีสิทธิเสนอร่างกฎหมายสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้
  7. ประธานาธิบดีมีสิทธิเสนอให้มีการลงประชามติได้
  8. ประธานาธิบดีมีสิทธิตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นใช้ได้ และพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้จน กว่ารัฐสภาจะตราพระราชบัญญัติอื่นออกมาบังคับใช้แทน
  9. ประธานาธิบดีมีสิทธิยับยั้ง (Veto) ร่างกฎหมายที่สภาผู้แทนราษฎร หรือ สภาของสหพันธ์เสนอมาได้ในขณะที่หากสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาของสหพันธ์จะทำการยับยั้งร่างกฎหมายจำเป็นต้องใช้เสียงสนับ สนุนอย่างน้อย 2 ใน 3
  10. ประธานาธิบดีมีสิทธิประกาศใช้อำนาจประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียเหนือสาธารณรัฐต่างๆภายในสหพันธรัฐรัสเซียในกรณีประกาศภาวะฉุกเฉิน
  11. ประธานาธิบดีมีสิทธิออกคำสั่งให้กองทัพออกปฏิบัติการนอกดินแดนสหพันธรัฐรัสเซีย

   อนึ่งอำนาจของประธานาธิบดีในข้อ 10 และ 11 นั้นต้องได้รับการให้สัตยาบันจากสภาของสหพันธ์เสียก่อนจึงจะมีผลบังคบใช้นอกจากนี้อำนาจของประธานาธิบดีก็ยังได้รับการประกันให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้นเนื่องจากการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นเป็นสิ่งที่แทบจะไม่สามารถทำได้เพราะกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้มีเงื่อนไขที่ยุ่งยากมาก การเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกอำนาจ สิทธิของประธานาธิบดีและรัฐสภานั้นต้องใช้เสียงสนับสนุนอย่างน้อย 3 ใน 4 ในกรณีของสภาสหพันธ์และอย่างน้อย 2 ใน 3 ในกรณีของสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น จึงเป็นการยากยิ่งที่จะทำการถ่ายโอนอำนาจจากประธานาธิบดีมาสู่รัฐสภาหรือรัฐบาล

    นอกจากนี้แล้วกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจของประธานาธิบดีของรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญ ..1993 นั้นอ่อนแอมาก เพราะสภาผู้แทนราษฎรสามารถที่จะลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ แต่ประธานาธิบดีก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธมติดังกล่าวได้ แต่หากภายใน 3 เดือน สภาผู้แทนราษฎรยังทำการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลอีกเป็นครั้งที่ 2 ประธานาธิบดีก็จะมีทางเลือกอยู่ 2 ทางด้วยกัน คือ ปลดรัฐบาลเสียหรือไม่เช่นนั้นก็ต้องยุบสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลของสภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นอันตรายต่อตัวของสภาผู้แทนราษฎรเอง พอๆกับที่เป็นอันตรายของรัฐบาล  

    อย่างไรก็ตาม การใช้อำนาจของประธานาธิบดีเพื่อยุบสภาผู้แทนราษฎรนั้นก็มีข้อจำกัด โดยประธานาธิบดีไม่สามารถยุบสภาผู้แทนราษฎรได้ หากว่า

  1. ในกรณีที่สภาปฏิเสธรายชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ประธานาธิบดีเสนอ แต่ในเวลานั้นยังไม่พ้นปีที่มีการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีไม่สามารถยุบสภาผู้แทนราษฎรได้
  2. ในช่วง 6 เดือนสุดท้ายในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตามวาระ ประธานาธิบดีไม่สามารถยุบสภาได้ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม
  3. ประเทศอยู่ในช่วงภาวะฉุกเฉิน
  4. ประธานาธิบดีอยู่ในระหว่างกระบวนการถูกถอน

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การค้าสินค้าเกษตรในประชาคมรัฐเอกราช (CIS)

วิกฤตการณ์ทางการเมืองในปี ค.ศ. 1993 (ตอนที่ 1)