วิกฤตการณ์ทางการเมืองในปี ค.ศ. 1993 (ตอนที่ 1)
วิกฤตการณ์ทางการเมืองในปี ค.ศ. 1993
เมื่อสหภาพโซเวียตสลายตัวลง เยลต์ซินยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียจนเขาลาออกในปลาย ค.ศ.1999 ก็เริ่มโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจทันทีในวันที่ 2 มกราคม ในปี ค.ศ. 1992 เยกอร์ ไกดาร์ (Yegor Gaidar) รองประธานาธิบดีซึ่งสันทัดด้านเศรษฐกิจได้ประกาศลอยตัวราคาสินค้าต่างๆกว่าร้อยละ 90 ซึ่งรวมทั้งขนมปัง วอดก้า ค่าโดยสารและค่าขนส่งตลอดจนค่าน้ำมัน ก๊าซ และพลังงานอื่นๆ อีกทั้งรัฐยังยกเลิกเงินสนับสนุนอุตสาหกรรมและรัฐวิสาหกิจและออกกฎหมายล้มละลายที่กำหนดว่ารัฐวิสาหกิจที่ไม่มีประสิทธิภาพต้องปิดตัวลง การปล่อยสินค้าให้ลอยตัวมีเป้าหมายจะล้มล้างระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีโดยให้ราคาสินค้าเป็นไปตามกลไกการตลาดและเพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรทั้งหมดของระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอันจะก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันรัฐบาลเน้นให้ความเข้มงวดนโยบายการคลังและการเงินเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงมีการตัดค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนาอาวุธควบคุมการปล่อยสินเชื่อในระบบอย่างเคร่งครัด กำหนดมาตรการเพิ่มภาษีและอื่นๆแต่ราคาสินค้าที่ถีบตัวสูงขึ้นทุกขณะจากร้อยละ 250 ในเดือนมกราคม ค.ศ.1992 เป็นร้อยละ 90 ในเดือนมีนาคม และในปลายค.ศ.1992 ราคาสินค้าทั่วไปที่ต่ำที่สุดก็มีราคาโดยเฉลี่ยสูงถึง 30 เท่าของราคาในต้นปีแม้สินค้าจะมีหลากหลายในร้านค้าและมีปริมาณมากขึ้น แต่ประชาชนทั่วไปก็ไม่สามารถซื้อได้เพราะปัญหาอัตราเงินเฟ้อและทุกคนตกอยู่ในสภาพยากจน ประชาชนทั่วไปมีรายได้ต่ำกว่า 8,500 รูเบิลต่อเดือนหรือประมาณ 10 ดอลล่าร์สหรัฐเท่านั้น ประชาชนที่มีเงินบำนาญ ตกอยู่ในสภาวะที่เลวร้าย ส่วนคนที่ทำงานหนักก็ไม่ได้รับเงินเดือน โรงงานบางแห่งจะจ่ายเงินเดือนเป็นสิ่งของแทน เช่น เหล้าวอดก้า ชอคโกแลต ขนมหวาน ถ่านหิน ตู้เย็นและอื่นๆ ประชาชนทั่วทั้งประเทศต่างต่อสู้ปากกัดตีนถีบพยายามขายข้าวของที่มีอยู่เพื่อให้สามารถยังชีพได้ในแต่ละวัน นอกจากนี้รัฐบาลซึ่งขาดแคลนเงินหมุนเวียนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ.1992 ก็ตัดค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการทางสังคมและการศึกษา ซึ่งทำให้สภาวะทางสังคมเลวร้ายมากขึ้นอีก กระแสการต่อต้านรัฐบาลจึงเพิ่มมากขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งความนิยมในเยลต์ซินก็เสื่อมลงอย่างมากเป็นลำดับ
การปล่อยราคาสินค้าลอยตัวเป็นมาตรการแรกของการปฏิรูปเศรษฐกิจ มาตรการต่อมาคือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ และการสนับสนุนธุรกิจเอกชนเพื่อให้ระบบกรรมสิทธิ์เอกชนเป็นพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจแบบใหม่แต่ผู้ได้รับประโยชน์จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจกลับไม่ใช่ประชาชนแต่เป็น กลุ่มนักธุรกิจฉวยโอกาสจำนวนน้อยที่เรียกกันว่า “พวกผู้มีอำนาจ” (oligarchs) ซึ่งรวมทั้งพวกสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ที่เคยมีอำนาจรัฐวิสาหกิจ 3 ใน 4 จึงตกเป็นของพวกผู้มีอำนาจเกือบทั้งหมด
นโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจของเยลต์ซินจึงได้รับการต่อต้านจากรัฐสภา ผู้นำคนสำคัญในการต่อต้านก็เคยเป็นผู้ที่สนับสนุนเยลต์ซินมาก่อนคือ อะเล็กซานเดอร์ รุตสกอย (Alexander Rutskoi) รองประธานาฯ และรุสลัน ฮัสบูตาตอฟ (Rusian Khasbulatov) ที่ปรึกษาเยลต์ซินและโฆษกของรัฐสภาโซเวียตสูงสุด คนที่สองให้มีการเรียกร้องควบคุมราคาสินค้าและให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมทั้งการปกป้อง คุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน การต่อต้านรัฐสภามีผลทำให้เยลต์ซินต้องปลดเยกอร์ ไกดาร์ และแต่งตั้ง วิคเตอร์ เชียร์โนมึยร์ดิน (Viktor Chernomyrdin) ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมพลังงานเข้าดำรงตำแหน่งแทน ขณะเดียวกันรัฐสภาพยายามทอนอำนาจประธานาธิบดีลง ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างรัฐสภากับประธานาธิบดี
ระบอบการเลือกตั้ง ในปี ค.ศ. 1993ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1993 เชียร์โนมึยร์ดินเริ่มนโยบายการควบคุมราคาและตรึงราคาสินค้าที่จะทำกำไรให้แก่ฝ่ายตรงกันข้าม ฝ่ายต่อต้านเยลต์ซินคิดว่าการควบคุมราคาคือชัยชนะ แต่สภาวะทางเศรษฐกิจก็ไม่ได้กระเตื้องขึ้นและภาวะเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้นตลอด ในปี ค.ศ. 1993 ผลผลิตทางอุตสาหกรรมตกต่ำกว่าร้อยละ 25 ในระหว่างปีและอัตราแลกเปลี่ยนไม่คงที่ ในปลายค.ศ.1992 หนึ่งดอลล่าร์สหรัฐแลกได้ 450 รูเบิล แต่ในปลาย ค.ศ. 1993 เท่ากับ 1,250 รูเบิล แม้ว่าความขาดแคลนอาหารและสินค้าต่าง ๆ จะหายไป แต่ก็มีคนจำนวนน้อยที่มีเงิน ประชาชนทั่วไปมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากและอยู่ในสภาวี่ค่อยข้างเลวร้าย ยิ่งธนาคารผลิตเงินเพื่อหมุนเวียนให้มากขึ้น ค่าเงินเฟ้อก็สูงขึ้นและคนที่มีเงินออมประสบกับความหายนะ จำนวนขอทาน คนไร้ที่อยู่อาศัย คนติดสุราและยาเสพติด รวมทั้งโสเภณีเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว จนกล่าวกันว่าประเทศที่เคยเป็นอภิมหาอำนาจกำลังถอยกลับไปสู่ยุค “ความป่าเถื่อน” ของระบอบทุนนิยม
นอกจากภาวะเศรษฐกิจที่เสื่อมถอยแล้ว ปัญหาการเมืองก็กระหน่ำซ้ำเยลต์ซินด้วย ความเปราะบางของระบอบประชาธิปไตยในรัสเซียได้นำสู่ความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีกับรัฐสภา ซึ่งในรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดอำนาจที่ชัดเจนระหว่างอำนาจทั้งสองฝ่าย รัฐสภาอ้างรัฐธรรมนูญว่าสภาคือองค์กรสูงสุดของรัฐที่มีอำนาจปกครองประเทศโดยชอบธรรม แต่การที่เยลต์ซินพยายามสร้างอำนาจให้แก่ประธานาธิบดีด้วยการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาหน่วยงานและองค์กรที่ทำงานให้ประธานาธิบดีทำให้เขาถูกกล่าวหาว่ากำลังสร้างระบบบริหารจัดการแบบกลุ่มมาเฟียขึ้น อีกทั้งยังเป็นการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรม การช่วงชิงอำนาจระหว่างประธานาธิบดีและรัฐสภาจึงทวีความรุนแรงมากขึ้นจนนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางรัฐธรรมนูญในเดือนมีนาคม ค.ศ.1993 เมื่อรัฐสภาประกาศยกเลิกการลงประชามติที่ได้กำหนดไว้ เยลต์ซินตอบโต้ด้วยการประกาศใช้ “อำนาจบริหารพิเศษ” (Special administrative rule) เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ.1993 โดยถือว่าคำสั่งของประธานาธิบดีคืออำนาจสูงสุดของประเทศ และรัฐสภาไม่มีอำนาจล้มล้างประธานาธิบดี อย่างไรก็ดีในเวลาต่อมารัฐธรรมนูญก็ตัดสินว่าการกระทำของประธานาธิบดีละเมิดรัฐธรรมนูญ รัฐสภาจึงเห็นเป็นโอกาสที่จะฟ้องให้ขับประธานาธิบดีออกจากตำ แหน่ง กลุ่มสนับสนุนเยลต์ซินกว่า 100,000 คน จึงชุมนุมต่อต้านรัฐสภาในวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ.1993 ในวันรุ่งขึ้นรัฐสภาก็ลงมติให้กับประธานาธิบดีด้วยคะแนน 617 ต่อ 268 แม้เยลต์ซินจะพ่ายแพ้แต่การปลดเขาออกจากตำแหน่งได้ต้องมีคะแนนเสียง 3 ใน 4 คือ 780 เสียง เยลต์ซินจึงยังคงรักษาอำนาจไว้ได้และฉลาดพอที่จะหาทางประนีประนอมกับรัฐสภาด้วยการยกเลิกการใช้อำนาจบริหารพิเศษ ในที่สุดรัฐสภาก็ยินยอมให้มีการลมประชามติดังเดิม ผู้ที่ใกล้ชิดเยลต์ซินให้ความเห็นว่าเมื่อเยลต์ซินคิดจะทำอะไรแล้ว เขาจะทำได้อย่างดีที่สุดและประชาชนไม่มีสิทธิ์ตัดสินว่าเขาทำผิด
ในการลงประชามติเมื่อวันที่ 25 เมษายน ในปี ค.ศ. 1993 คำถามสองข้อที่ประชาชนต้องตัดสินใจคือประชาชนยังคงไว้ใจประธานาธิบดีหรือไม่และเห็นด้วยกับนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมที่ดำเนินการมาตั้งแต่ ในปี ค.ศ. 1992 หรือไม่ ผลปรากฎว่าร้อยละ 58.5 และร้อยละ 53 เห็นด้วยตามลำดับ ภายหลังการลงประชามติ นายเยลต์ซินมีความเชื่อมั่นในแนวทางการปฏิรูปของเขามากขึ้นและวางแผนที่จะลดอำนาจรัฐสภาด้วยการเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ให้รัฐสภาและรัฐบาลขึ้นต่อประธานาธิบดี ขณะเดียวกันเขาก็เจรจาขอความร่วมมือจากกองทัพ ต่อมาในวันที่ 18 พฤศจิกายน เยลต์ซินได้แต่งตั้งเยกอร์ ไกดาร์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 ซึ่งมีนัยว่ารัฐบาลมุ่งการปฏิรูปเศรษฐกิจไปสู่ตลาดเสรีเร็วขึ้น รัฐสภาตอบโต้ด้วยการออกร่างพระราชบัญญัติยกเลิกอำนาจยับยั้บ (veto) ของประธานาธิบดี โดยกำหนดว่าหากประธานาธิบดีฝ่าฝืนมติของรัฐสภาก็จะถูกดำเนินคดีฐานก่ออาชญกรรม เยลต์ซินจึงขุ่นเคืองอย่างมาก ในวันที่ 21 พฤศจิกายน เขาประกาศยุบสภาและกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาและกำหนดการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 12 ธันวาคม รัฐสภาจึงเรียกประชุมด่วนและลงคะแนนเสียงว่าประธานาธิบดีดำเนินการที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งประกาศให้รุตสกอยเป็นประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซีย ฮัสบูตาคอฟและรุตสกอยรวมทั้งสมาชิกรัฐสภานับร้อยคนตลอดจนผู้สื่อข่าวและนายพลมาคาชอฟ (Makashov)ประกาศต่อสู้โค่นล้มเยลต์ซินจนถึงที่สุดและจะใช้ตึกรัฐสภาเป็นศูนย์บัญชาการ ขณะเดียวกันฝ่ายอาสาสมัครที่ติดอาวุธซึ่งสนับสนุนรัฐสภาก็ตั้งเครื่องกีดขวางเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายรัฐบาลล่วงล้ำเข้าไปในรัฐสภา อย่างไรก็ตาม สถานีโทรทัศน์สนับสนุนเยลต์ซินซึ่งทำให้เขาเป็นฝ่ายได้เปรียบในการออกข่าว ส่วนสื่อมวลชนส่วนใหญ่วางตนเป็นกลางและบางฝ่ายสนับสนุนรัฐสภา เยลต์ซินสั่งให้กองทัพล้อมรัฐสภาและนายพลปาเวล การเชฟ (Pavel Grachev) รัฐมนตรีกลาโหมเตือนว่าฝ่ายรัฐสภากำลังวางแผนก่อการร้ายที่อาจนำไปสู่การนองเลือด ทั้งสองฝ่ายต่างตรึงกำลังเผชิญกันระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน ถึง 3 ตุลาคม และจำนวนผู้ต่อต้านประธานาธิบดีนอกรัฐสภาก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เยลต์ซินพยายามกดดันสมาชิกสภาให้ออกจากตึกรัฐสภาด้วยการตัดน้ำ ตัดไฟและเครื่องทำความร้อนรวมทั้งระบบโทรศัพท์ ซึ่งมีผลทำให้สมาชิกรัฐสภาราว 110 คนยอมออกมา แต่อีก 300 คนยังคงยืนหยัด ความขัดแย้งดังกล่าวมีชื่อเรียกกันในเวลาต่อมาว่ากบฏเดือนตุลาคม (October Putsch)
ในวันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อตำรวจที่ล้อมรัฐสภายอมเปิดทางให้ผู้สนับสนุนรัฐสภากลุ่มใหญ่เข้าไปในอาคารรัฐสภาได้ รุตสกอยและนายพลมาคาชอฟจึงเข้าใจว่าตำรวจหันมาสนับสนุนประชาชน คนทั้งสองฝ่ายจึงนำผู้สนับสนุนเกือบ 2,000 คนออกจากรัฐสภาและบุกทำลายศาลาว่าการกรุงมอสโกและพยายามเข้ายึดสถานีโทรทัศน์ใจกลางเมืองทั้งเรียกร้องให้ประชาชนจับอาวุธขึ้นสู้ เยลต์ซิน จึงเห็นเป็นโอกาสประกาศภาวะฉุกเฉินในวันที่ 4 ตุลาคม ห้ามมีการชุมนุมและห้ามออกจากบ้าน เมื่อเกิดการปะทะกันขึ้นในช่วงเย็นเยลต์ซิน จึงตัดสินใจใช้กำลังทหารยุติความวุ่นวาย หน่วยรถถังที่ 72 ได้เปิดฉากยิงใส่ตึกรัฐสภาซึ่งนำไปสู่การปะทะกันที่รุนแรงและนองเลือด ฮัสบูตาตอฟและรุตสกอยพร้อมทั้งสมาชิกรัฐสภาคนอื่นๆ ถูกจับและหลายคนถูกตำรวจทำร้ายสาหัส ประมาณว่าฝ่ายรัฐสภาเสียชีวิตเกือบ 200 คน บาดเจ็บจำนวน 700-800 คนและถูกจับขังกว่า 1,000 คน ฝ่ายทหารและตำรวจเสียชีวิตประมาณ 20 คน นับเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่รุนแรงและนองเลือดที่สุดในรัสเซียนับตั้งแต่การปฏิวัติเดือนตุลาคม ในปี ค.ศ. 1917
ต่อมาในการลงประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ในปี ค.ศ. 1993 ประชาชนร้อยละ 53 สนับสนุนรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีมากขึ้น แต่ในการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนสภาในวันที่ 15 ธันวาคม พรรค Russia’s Choice ซึ่งประธานาธิบดีเยลต์ซินสนับสนุนได้รับเลือกเพียง 70 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคการเมืองซ้ายคือ Communist Party of the Russian Federation ซึ่งมี เกนนาดี ซูย์กานอฟ (Gennady Zyuganov) เป็นผู้นำได้ 103 ที่นั่งและพรรคฝ่ายขวาชาตินิยมคือ Liberal-Democratic Party ที่มีวลาดิมีร์ จีรีนอฟสกี (Viadimir Zhirinovsky)เป็นผู้นำได้ 64 ที่นั่ง ซึ่งเป็นที่ปรากฏว่าร้อยละ 80 ของผู้แทนสภาส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นเก่าที่สืบทอดอำนาจจากรัฐโซเวียตเดิม แม้ผลการเลือกรัฐสภาจะทำให้เยลต์ซินผิดหวังแต่ก็ไม่มีผลกระทบต่ออำนาจทางการเมืองของเขามากนักเพราะรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้อำนาจประธานาธิบดีในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ดำเนินนโยบายต่างประเทศ รวมทั้งยุบสภา โดยประธานาธิบดีสามารถออกกฎหมายเพื่อปกครองประเทศตามที่ตนเองต้องการได้ชัยชนะของพรรคฝ่ายขวาที่ประกาศนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนและการสร้างระเบียบและความมั่นคงทางสังคม ตลอดจนการจะรื้อฟื้นความยิ่งใหญ่ของรัสเซียอีกครั้ง กลับมีส่วนทำให้เยลต์ซินต้องบริหารปกครองประเทศด้วยความรอบคอบมากขึ้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนว่าเขาจะไม่ปกครองแบบอำนาจนิยม
ระหว่าง นาย Yeltsin + รัฐบาล vs รัฐสภา (สภาฯผู้แทน)
นาย Anatoly Chubais มีส่วนสำคัญในการออกนโยบายของบอริสเยลต์ซินเพื่อปฏิรูปให้ประเทศรัสเซียใหม่ดำเนินการอย่างถูกต้องโดยผ่านการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ เขาสร้างกลุ่มอิทธิพลใหม่ในสังคม และมีผลทางการเมืองคือมีส่วนในการออกนโยบายที่นำมาใช้กับคนส่วนใหญ่
การเลือกตั้งในวันที่ 12 ธันวาคม 1993 มีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร์ แสดงให้เห็นการกำหนดรูปแบบทางการเมืองการปกครองของบอริสเยลต์ซินเพื่อที่จะได้ทราบว่าทีมสภาผู้แทนราษฎร์ทีมใหม่คือใคร และกลุ่มสภาผู้แทนใหม่ต้องสนับสนุนแนวทางการปฏิรูปของบอริสเยลต์ซิน เมื่อมีการลงประชามติหรือรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เยลต์ซินพยายามวางกรอบให้เป็นในทิศทางเดียวกับการบริหาร
คนรัสเซียเวลาเลือกตั้งจะได้ใบเลือกตั้งสองใบคือ บัญชีรายชื่อ และ แบ่งเขต ซึ่งเป็นระบบสากล แต่ในทางปฏิบัติการเลือกตั้งวันที่ 12 ธันวาคม 1993 พรรคการเมืองส่วนใหญ่ที่จะลงแข่งขันเลือกตั้งยังไม่มีความพร้อมเท่าที่ควร รัฐบาลเยลต์ซินกังวลว่า สส. (Duma)ชุดใหม่ที่เข้ามาจะเป็นพวกโปรหรือต่อต้านทำให้เกิดอคติในการก่อประชาธิปไตย เยลต์ซินให้รัฐบาลเข้ามาคุมสื่อ (СМИ: อ่านว่า สะมี) ถูกควบคุมจากรัฐบาล เช่น โทรทัศน์ถูกควบคุมการหาเสียงของนโยบายพรรคต่าง ๆ แทนที่จะให้มีการเสนอพรรค การเมืองหลากหลายเสรี ให้ประชาชนทราบนโยบายของแต่ละพรรคเท่าเทียมกันแต่ СМИ ถูกควบคุมโดยรัฐบาลเยลต์ซิน โดยให้สถานีโทรทัศน์ต่างๆนำเสนอเพื่อช่วยเหลือแค่บางพรรค
พรรคการเมืองสำคัญในการเลือกตั้ง 1993
- พรรค Democratic Choice of Russia ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยลต์ซินและเป็นพรรคที่สนันสนุนเยลต์ซินมากที่สุด ในช่วงการรณรงค์หาเสียงมีการทำpollสำรวจความนิยมเพื่อสำรวจว่าประชาชนกลุ่มไหนมาก Poll ออกมาคือพรรค LDPR ได้รับความนิยมมาก ประชาชนให้ความสนใจมาก
- พรรคเสรีประชาธิปไตยแห่งรัสเซีย (Liberal Democratic Party of Russia LDPR) มีหัวหน้าพรรคคือ Vladimir Zhirinovsky
- พรรคคอมมิวนิสต์แห่งรัสเซีย (Communist Party of the Russian Federation CPRF) มีผู้นำคือ Gennedy Zyuganov ซึ่งต่อต้านเยลต์ซินมีนโยบายแนวคิดชาตินิยมต่อต้านการปฏิรูป
- พรรคเกษตรกรรม (Agrarian Party of Russia)
- พรรคยาบลากา (Russia United Democratic Party “Яблоко”ผู้นำพรรคคือ Grigory Yavlinsky
- พรรคผู้หญิงแห่งรัสเซีย (Woman of Russia)
- พรรคเอกภาพ (Party of Russia’s Unity and Concord)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น