ประวัติความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย อดีต ปัจจุบัน อนาคต
 (ตอนที่ 2)




 ประวัติความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย (ตอนที่ 2)



120 ปีแห่งความสัมพันธ์สยาม – รัสเซีย :: Museum Thailand


   นอกจากนี้ ประเทศรัสเซียได้กล่าวว่าจะดำเนินการไกล่เกลี่ยอย่างเป็นเอกเทศโดยสมบูรณ์คือการที่ไม่เข้าข้างใครและไม่ขึ้นอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และนายอา.เย โอรารอฟสกี้ จะต้องทำให้ผู้แทนฝรั่งเศสรู้จักความพอดีเพื่อทำให้ผู้แทนของประเทศฝรั่งเศสนั้นหันมาเอาใจใส่ต่อคำเรียกร้องอันชอบธรรมของประเทศสยามมากขึ้น และพยายามไม่ให้ประเทศฝรั่งเศสท้าท้ายประเทศอังกฤษเพราะถ้าประเทศฝรั่งเศสทำแบบนั้นแล้ว ก็จะทำให้ประเทศอังกฤษมีข้ออ้างในการดำเนินกลอุบายในบริเวณฝั่งแม่น้ำ (หอจดหมายเหตุการเมืองระหว่างประเทศ จักรวรรดิรัสเซีย หมวดจีน ต้นฉบับ ภาษารัสเซีย. หมายเลขแฟ้มเอกสาร 103 (3-21)).


ดังนั้น การกระทำของท่านในทุกๆ ด้านที่กล่าวมาแล้วต้องมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ยซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของนโยบายของประเทศรัสเซียและสอดคล้องกับความจำเป็นในการขจัดข้ออ้างทุกอย่าง ซึ่งผู้ที่เป็นปรปักษ์กับประเทศรัสเซียใช้ในการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศสยาม


        และสาเหตุสำคัญที่ประเทศไทยต้องการดำเนินการทางการทูตกับประเทศรัสเซียก็เพราะว่า ได้เกิดเหตุการณ์การล่าอาณานิคมเพื่อขยายอิทธิของประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระทัยเสด็จไปประพาสยุโรปเป็นระยะเวลานาน 9 เดือน ในระหว่างวันที่ 7 เมษายน จนกระทั่ง 16 ธันวาคม ปี .. 1897 ซึ่งมันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการดำเนินการทางการทูตเพื่อต้องการที่จะยกระดับฐานะของประเทศไทยและทำการแสวงหาพันธมิตรเพื่อคานอำนาจกับประเทศฝรั่งเศสและเพื่อให้ประจักษ์แก่สายตาของประเทศมหาอำนาจยุโรปว่า พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงเป็นมิตรที่ดีและน่าเกรงขามของประเทศไทย  เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้พบกับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ในวันที่ 3-11 กรกฎาคม ปี .. 1897 ทำให้นำไปสู่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างทั้ง 2 ประเทศเป็นครั้งแรกในปี .. 1897 เพื่อการใช้ประเทศรัสเซียมาช่วยถ่วงดุลอำนาจกับทางประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส


        จากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ถึงเรื่องที่กำลังถูกคุกคามจากชาติมหาอำนาจในยุโรป ซึ่งก็หมายถึง ประเทศฝรั่งเศส โดยหลังจากนั้นทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้ทรงมีการฉายพระบรมรูปคู่กัน และหลังจากนั้นพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้ทรงมีรับสั่งให้นำภาพนี้ไปลงหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่ออกในเมืองหลวงของประเทศต่างๆในยุโรป และเมื่อภาพนี้ได้ไปปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ที่กรุงปารีส ก็ได้เกิดผลในทันที เพราะประเทศฝรั่งเศสได้สั่งถอนกองทัพทหารของตนเองออกไปจากเมืองจันทบุรี และได้ยุติการรุนรานประเทศไทยนับตั่งแต่นั้นเป็นต้นมา


        การกระทำของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงการดำเนินวิเทโศบายชั้นสูง หรือทรงแสดงการทูตชั้นเยี่ยม เพื่อยับยั้งการรุกรานประเทศไทยของชาติมหาอำนาจในยุโรป โดยแสดงให้ทั่วโลกเห็นประจักษ์ถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างพระกษัตริย์ของทั้ง 2 ประเทศ เท่ากับกับการประกาศให้ชาติอื่นๆ รับรู้ว่ากษัตริย์องค์นี้เป็นเพื่อนของฉันนะชาติที่คิดจะรุกรานประเทศไทยต่อไป ก็ต้องหยุดชะงัก เพราะในสมัยนั้น ประเทศรัสเซียเป็นที่น่าเกรงขามของชาติอื่นๆ ในยุโรป

        แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศรัสเซียก็ไม่สามารถแสดงบทบาทได้มากมายนักในความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส เพราะประเทศรัสเซียเป็นพันธมิตรของประเทศฝรั่งเศส อีกทั้งยังต้องมีการพึ่งพาทางการเงินจากประเทศฝรั่งเศส ดังนั้นบทบาทของรัสเซียเป็นไปในเชิงสัญลักษณ์มากกว่าการกดดันทางการทูต เพราะประเทศรัสเซียเองก็ยังมีปัญหาทั้งภายในและภายนอก ประเทศรัสเซียจึงไม่สามารถแสดงบทบาทได้มากเท่าที่ประเทศไทยต้องการ

        ภายหลังจากการปฏิวัติสังคมนิยม ความสัมพันธ์ของประเทศไทยและประเทศรัสเซีย ได้ยุติความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันลงชั่วคราว เพราะประเทศไทยได้หวั่นเกรงภัยคุกคามจากการปฏิวัติสังคมนิยม ทำให้ไทยขอส่งตัวผู้แทนทางการทูตที่ดูแลประเทศรัสเซียกลับมายังประเทศไทย 


ในปัจจุบันประเทศไทยกับประเทศรัสเซียได้มีความพยายามในการร่วมมือต่อกันในหลายๆ ด้าน เพื่อนำมาซึ่งการกระชับความสัมพันธ์ โดยมีกลไกความสัมพันธ์ทวิภาคีด้านการเมืองเป็นเครื่องผลักดันและนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในสาขาอื่นๆ ที่ลึกและรอบด้านมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ประเทศไทยและประเทศรัสเซียได้มีการจัดตั้งกลไกต่างๆเพื่อดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทั้งกลไกทางการทูต การหารือประจำปีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศไทย-รัสเซีย และการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ไทย-รัสเซีย ซึ่งเป็นกลไกถาวร นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆ และการประชุมความร่วมมือในกรอบพหุพาคี UN, ASEAN-Russia, ACD รวมทั้งกลไกอื่นๆ ที่นำมาใช้เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในทุกระดับ


Chairman's Statement of the 3rd ASEAN-Russia Summit - ASEAN | ONE VISION  ONE IDENTITY ONE COMMUNITY

 

        จากแนวนโยบายและความจำเป็นของทั้งไทยและรัสเซียทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองจึงนำไปสู่การพยายามกระชับความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งของทั้งสองประเทศ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น แม้ไม่มีแรงกดดัน แต่ทั้งไทยและรัสเซียก็ต้องขยายความสัมพันธ์ไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ในกรอบของโลกาภิวัตน์อยู่แล้ว และขณะที่โลกในทางภูมิรัฐศาสตร์เปลี่ยนแปลงไป ประเทศเกิดใหม่เกิดขึ้นมากมาย จีน อินเดียและอาเซียนต่างก็มีบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจึงถือว่าการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศรัสเซียจึงเป็นแนวโน้มที่ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศรัสเซียในครั้งนี้ก็ถือว่ามีนัยยะทางการเมือง โดยไทยต้องการแสดงออกทางสัญลักษณ์ว่า ไทยก็ยังมีทางออกด้วยการพึ่งพาประเทศอื่นๆ นอกจากนั้นยังเป็นการแสดงออกถึงท่าทีต่อประเทศสหรัฐฯ ว่าประเทศไทยยังมีประเทศพันธมิตรอื่นๆ อีกด้วย ดังนี้การการกระทำที่แสดงถึงการบีบบังคับประเทศไทยมากเกินไป อาจจะทำให้ประเทศสหรัฐฯ หันกลับมาทนทวนความสัมพันธ์ระหว่างกันใหม่ เพราะประเทศไทยรู้ดีว่า ประเทศสหรัฐฯ กำลังถ่วงดุลอำนาจจากประเทศจีน (Pivot Asia) ดังนั้นการเป็นพันธมิตรกับประเทศไทยอย่างแนบแน่นจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ 

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศรัสเซียแม้จะมีเนื้อหาที่เป็นรูปธรรมของความเชื่อมโยงมากขึ้นจากในอดีต แต่สิ่งสำคัญตอนนี้คือประเทศไทยกำลังแสดงออกทางสัญลักษณ์ให้ประเทศสหรัฐฯ ได้รับรู้มากกว่า



อ้างอิง: ภาคนิพนธ์ ความสัมพันธ์ ไทย-รัสเซีย ในกรณีศึกษาการเปรียบเทียบปัจจัยการประพาสรัสเซียของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในช่วงปี ..1897) กับการเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (ในช่วงปี .. 2014 - 2016) ชื่อผู้เขียน นางสาวลลิตา รวดเร็ว 



 
   Lalita Ruatrew, Article analyst

BACHELOR OF ARTS B.A, RUSSIAN STUDIES 2013-2016 THAMMASAT UNIVERSITY BANGKOK (GPA: 3.68) 

I GOT SCHOLARSHIP OF THAMMASAT U. (UNIVERSITY MOBILITY IN ASIA AND THE PACIFIC: UMAP) I WAS EXCHANGE STUDENT IN SAINT PETERSBURG STATE UNIVERSITY, RUSSIA. FEBRUARY 24-JUNE 23, 2015 

MASTER’S PROGRAMME IN POLITICS AND GOVERNANCE NATIONAL RESEARCH UNIVERSITY HIGHER SCHOOL OF ECONOMICS (HSE), ST. PETERSBURG 2017-2018 

E-mail: newyork.mcc@hotmail.com, WhatsApp: +79679794769, line: newyork1415 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การค้าสินค้าเกษตรในประชาคมรัฐเอกราช (CIS)

วิกฤตการณ์ทางการเมืองในปี ค.ศ. 1993 (ตอนที่ 1)