เศรษฐกิจไทย-รัสเซีย (SWOT Analysis)
ทฤษฎี SWOT Analysis วิเคราะห์เศรษฐกิจประเทศรัสเซีย - ไทย
วิเคราะห์เศรษฐกิจประเทศรัสเซีย (SWOT Analysis)
จุดแข็ง (Strengths)- เป็นตลาดขนาดใหญ่ ปริมาณผู้บริโภคโดยประมาณ 155 ล้านกว่าคน
- มีทรัพยากรทางพลังงานจำพวกก๊าสธรรมชาติรวมถึงน้ำมันปริมาณมาก
- เป็นผู้นำทางเทคโนโลยีอวกาศและการผลิตอาวุธสงคราม
จุดอ่อน (Weaknesses)- การคอรัปชั่นสูง
- การเมืองขาดเสถียรภาพเนื่องจากเกิดการประท้วงของประชาชน และการผูกขาดอำนาจการปกครองของปูติน
- การลดลงของจำนวนผู้สูงอายุ/ แรงงานในประเทศก็น้อยลง
- การผลิตสินค้าอุปโภค บริโภคและสินค้าเกษตรกรรมขาดประสิทธิภาพ
โอกาส (Opportunities)- ใช้องค์กรการค้าโลกช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ
- แสวงหาพันธมิตรด้านต่างๆ เช่น ทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารในภูมิภาคใหม่
อุปสรรค (Threats)- กบฎแบ่งแยกดินแดนต่างๆ เพื่อต้องการแบ่งแยกตัวเองเป็นอิสระจากรัสเซีย
- ราคาน้ำมันในตาลดโลกและวิกฤตของโลกซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจรัสเซียโดยตรง
จุดแข็ง (Strengths)
ประการแรก ในปัจจุบันรัสเซียมีประชากรเป็นจำนวน โดยประมาณคือ 142,946,800 คน ซึ่งหมายความว่ามีผู้บริโภคที่อยู่ในภูมิภาคนี้เป็นจำนวนมาก และรัสเซียเป็นตลาดนำเข้าสินค้าอุปโภคขนาดใหญ่และสำคัญโดยเฉพาะกับประเทสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการที่สอง ประเทศรัสเซียเป็นผู้นำด้านการผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเป็นอันดับแรกๆของโลก เนื่องจากรัสเซียมีทรพยากรเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้สร้างประโยชน์จากการขายทรัพยากรแก่รัสเซียเป็นจำนวนมาก และรัสเซียก็ได้ใช้ทรพยากรธรรมชาติเป็นตัวขับเคลื่อนนโยบายต่างประเทศอีกด้วย ในเวทีระดับประเทศนั้นจะถือเป็นการผูกขาดอำนาจกับประเทศที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรจากรัสเซีย ประการสุดท้าย ในด้านของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น รัสเซียถือเป็นประเทศแรกที่สามารถส่งดาวเทียมออกไปโคจรรอบโลกสำเร็จเป็นประเทศแรก และยังมีวิทยาการด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ที่นำสมัยและยังสามารถผลิตและพัฒนาได้คุณภาพใกล้เคียงกับสหรัฐแต่มีราคาที่ถูกกว่า จึงทำให้รัสเซียเป็นที่นิยมของนานาประเทศ ซึ่งในปัจจุบันเกิดการก่อการร้ายรวมถึงการเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นมากมายจึงทำให้นานาประเทศมีความจำเป็นด้านอาวุธที่มีคุณภาพและราคาที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้รัสเซียได้รับรายได้จากการค้าอาวุธอย่ามหาศาล
จุดอ่อน (Weaknesses)
ประการแรก การคอรัปชั่น ความไม่โปร่งใส่ในด้านต่างๆทางการเมืองหรือทางเศรษฐกิจในรัสเซียนั้นถือเป็นปัญหาแก่รัสเซียเป็นอย่างมาก และการคอรัปชั่นก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้รัสเซียไม่พัฒนาไปเท่าที่ควร และยังทำให้ประเทศขาดความมั่นคงและความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนของต่างชาติและทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับในระดับโลกอีกด้วย
ประการที่สอง ปัญหาด้านการขาดเสถียรภาพทางการเมืองนั้น ยกตัวอย่างได้จากเหตุการณ์ที่มีประชาชนออกมาประท้วงหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนมีนาคม ค.ศ.2012 และปูตินก็ได้รับการเลือกตั้งซึ่งเป็นการสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนบางส่วนที่เห็นว่าการที่ปูตินได้รับเลือกอีกครั้งเป็นการผูกขาดทางอำนาจทางการเมืองและการบริหารประเทศ และการผูกขาดนี้อาจนำประเทศรัสเซียกลับสู่ยุคแห่งโซเวียตอีกครั้ง โดยมีเหตุสนับสนุนที่ประชาชนหวั่งเกรงอันเนื่องมากจากตัวของปูตินเองก็เคยทำงานให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์ก่อนมา เป็นต้น
ประการที่สาม จากปัญหาการลดลงของประชากรรัสเซียนั้น สามารถเฉลี่ยได้สัดส่วนลดลงวัน 100 คนและหากยังเกิดการลดลงอย่างต่อเนื่องอย่างนี้ก็เกิดปัญหาการขาดแคลนประชากรวัยทำงานซึ่งเฉลี่ยละลดลงร้อยละ 20 ภายในปี ค.ศ. 2030 และอายุเฉลี่ยของคนรัสเซียปัจจุบันเหลือเพียง 52 ปีเท่านั้น อันเนื่องมาจากผลกระทบด้านสาธารณสุขที่ขาดมาตรฐาน และการดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอออล์อย่างมาของคนรัสเซีย ทำให้ประสบอุบัติเหตุบ่อยครั้งจึงเป็นสาเหตุให้ประชากรลดลงอย่างรวดเร็วซึ่งต่อผลต่อภาคการผลิต ทำให้เกิดการขาดแรงงานและขาดการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ
ประการสุดท้าย ประเทศรัสเซียนั้นสามารถผลิตสินค้าเกษตรกรรมได้มีกี่ชนิดอันเนื่องมาจากสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศ ในปัจจุบันรัสเซียเน้นการผลิตข้าวสาลีและยังต้องมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากต่างชาติเป็นจำนวนมากเป็นเหตุให้รัสเซียต้องสูญเสียงบประมาณเป็นจำนวนมาก รัสเซียจึงต้องหันมาพัฒนาภาคการเกษตรและวางนโยบายสำหรับการเกษตรที่ส่งผลระยะยาวเพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ
โอกาส (Opportunities)
ประการแรก การที่รัสเซียเลือกใช้องค์กรการค้าในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการเข้าร่วม WTO (องค์การการค้าโลก) อย่างสมบูรณ์แบบทำให้ระบบเศรษฐกิจของรัสเซียเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รูปแบบทางการเงินมีระบบแบบแผนเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น และยังปรับอัตราภาษีให้เทียบเท่าระดับสากลส่งผลให้บริษัทต่างชาติต้องการเข้ามาลงทุนในรัสเซียมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านธุรกิจพลังงานซึ่งทำให้รัสเซียสามารถลดการพึ่งพาการส่งออกพลังงานของประเทศได้โดยการใช้การลงทุนจากต่างชาติเข้ามาทดแทน เละทำให้อัตราเสี่ยงต่อวิกฤตทางพลังงานลดน้อยลง และยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ต่างชาติได้ด้วย
ประการที่สอง ในปัจจุบันรัสเซียให้ความสำคัญแก่ประเทศในเครือรัฐเอกราชเป็นอันดับ 1 และสหภาพยุโรปเป้นอันดับ 2 โดยจากที่กล่าวมานั้นทำให้รัสเซียมีตลาดที่ใหญ่ขึ้นส่งผลให้รัสเซียได้ประโยชน์อย่างมหาศาลจาก ทรัพยากรรมธรรมชาติ เทคโนโลยีและยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง เป็นต้น และจากที่กล่าวมาหากรัสเซียสามารถเข้าไปเป็นพันธมิตรได้รัสเซียเองก็จะสามารถเข้าไปมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของตนเองให้มีความเหมาะสมกับภูมิภาคต่างๆ ได้มากขึ้น
อุปสรรค์ (Threats)
ประการแรก ปัญหาเกี่ยวกับกบฎในรัสเซียนั้นยังคงมีอยู่ เช่น กบฏเชชเนีนที่มีความพยายามในการแยกตัวเป็นอิสระจากรัสเซียซึ่งส่งผลต่อความมั่นคงและการบูรณภาพแห่งดินแดนของรัสเซีย เป็นต้น ซึ่งปัญหาที่กล่าวมานั้นถือเป็นปัญหาที่รัสเซียยังคงต้องหาทางออกที่ดีสุด เพื่อรักษาไม่ให้เกิดความบาดหมางกันไปมากกว่านี้
ประการที่สอง รัสเซียเป็นประเทศที่มีการผูกขาดด้านพลังงานธรรมชาติ และเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกเกิดการผันผวนย่อมส่งผลต่อการปรับลดลงของเศษรฐกิจของรัสเซียด้วย เนื่องจากรัสเซียพึ่งพาการส่งออกน้ำมันเมื่อราคาลดลงเศรษฐกิจของรัสเซียจึงเกิดการชะลอตัวอย่างมาก เศรษฐกิจขาดเสถียรภาพไป จำเป็นต้องหามาตราการมาป้องกัน เช่น การส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ และพัฒนาการส่งออกสินค้าประเภทอื่น เป็นต้น
วิเคราะห์เศรษฐกิจประเทศไทย (SWOT Analysis)
จุดแข็ง (Strengths)- การศึกษาเริ่มมีการเปิดกว้างเกี่ยวกับการเรียนรู้ในด้านภาษา วัฒนธรรมเกี่ยวกับประเทศคู่ค้า
- ความหลากหลายทางทรัพยากร
- สถาบันการเงินของไทยมีความมั่นคง นักลงทุนสามารถระดมทุนจากสถาบันการเงินของไทยได้อย่างมั่นใจ และรัฐบาล เป็นต้น
- ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมต่างๆ
จุดอ่อน (Weaknesses)- บุคลากรยังขาดความรู้ ความเข้าใจและความสามารถในด้านภาษา วัฒนธรรมเพื่อใช้ในการติดต่อธุรกิจ
- รัฐบาลเสถียรภาพในด้านนโยบาย การบริหาร และการจัดการ ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
- เกิดการทุจริตในหน่วยงานต่างๆของรัฐ เกิดความไม่โปร่งใส่
- รัฐบาลยังขาดแรงส่งเสริมในการสนับสนุนแก่เอกชนในการเข้าไปร่วมลงทุนในต่างประเทศคู่ค้า (รัสเซีย)
โอกาส (Opportunities)- มีการลงนามร่วมกับต่างประเทศด้านการค้า การท่องเที่ยว เป็นต้น
- นโยบายด้านการเงินที่ผ่อนคลาย
อุปสรรค (Threats)- การแข่งขันจากประเทศที่มีทรัพยากรคล้ายกัน
- การแข่งขันจากประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำมาก เช่น จีน และเวียดนาม เป็นต้น
จุดแข็ง (Strengths)
ประการแรกในด้านของการส่งเสริมด้านการศึกษาของประเทศไทยมีความพยายามพัฒนาอยู่ตลอดเวลาและถือว่าเป็นผลดีต่อด้านเศรษฐกิจกับต่างชาติในการร่วมทุนเนื่องจาก ทักษะด้านการใช้ภาษาถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างแรกๆในการติดต่อธุรกิจกับต่างชาติ ร่วมถึงการเปิดด้านวิชาการศึกษาแก่บุคคลากรรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความเข้าใจนอกเหนือจากด้านภาษาและยังเพิ่มการเรียนรู้ด้านอื่นๆของประเทศคู่ค้า ตัวอย่างเช่น การศึกษาด้านภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ตัวอย่างเช่นประเทศรัสเซียหากเทียบกับในอดีตแล้วนั้นถือว่ามีการพัฒนาด้านความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศรัสเซียเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศรัสเซียถือว่าเป็นประเทศที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ประเทศคู่ค้าจำต้องศึกษาก่อนลงทุนร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลสำเร็จในการลงทุนนั้นๆ
ประการที่สอง โดยภาพร่วมของประเทศไทยแล้วนั้นด้านทรัพยากรของประเทศไทยถือว่าเป็นสิ่งที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทยได้อย่างมากมายมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ว่าจะด้านเศรษฐกิจหรือด้านการท่องเที่ยวเป็นต้น ฉะนั้นด้านทรัพยากรแล้วนั้นถือว่าเป็นจุดแข็งอย่างมากของประเทศไทยที่จะใช้เป็นแรงดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทย
ประการที่สาม สำหรับสถาบันด้านการเงินของประเทศไทยนั้นถือว่ามีการเปิดอย่างกว้างขว้างและเสรีแก่นักลงทุนในประเทศเป็นอย่าง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนก็ต่างให้ความร่วมมือกันในการสนับสนุนระดมเงินทุนเพื่อให้เกิดการประกอบการธุรกิจของคนในประเทศอย่างกว้างขว้าง
ประการสุดท้าย ประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมหลักๆของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการประกอบการด้านอุตสาหกรรมของต่างประเทศ จะสังเกตเห็นได้ว่าหลายประเทศเข้ามาลงทุนโดยการให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต เนื่องจากประเทศนั้นมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากในการเป็นฐานด้านการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นต้น แต่จากที่กล่าวมาก็ไม่สามารถชะล่าใจได้ว่าไทยจะมีผลประกอบการที่ดีตลอดไป เนื่องจากในหลายประเทศในภูมิภาคนี้มีหลายเป็นประเทศที่แข่งกันเพื่อเป็นประเทศที่เป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคนี้ตลอดเวลา
จุดอ่อน (Weaknesses)
ประการแรก แม้ว่าประเทศไทยจะมีการส่งเสริมด้านการศึกษาในด้านภาษามากมายแต่จะพบได้ว่าบุคคลากรที่มีความสามารถในด้านการติดต่อธุรกิจจริงๆนั้น ยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่ด้านภาษามีการเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากและนี้คือจุดอ่อนที่สุดสำหรับประเทศไทยที่ยังไม่สามารถแก้ไขให้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจนัก โดยปัญหาด้านภาษาถือเป็นปัจจัยแรกที่ส่งผลต่อการร่วมลงทุนกับต่างชาติเนื่องจาก ภาษาสามารถแสดงถึงความจริงใจ จริงจังในการต้องการอยากร่วมลงทุนทำธุรกิจกันได้และสำหรับบางประเทศก็ค่อนข้างให้ความสนใจในด้านนี้ ตัวอย่างเช่นประเทศรัสเซีย สำคัญบุคลากรไทยต่อภาษารัสเซียถือว่าเรายังขาดแคลนเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะเกิดการศึกษาภาษารัสเซียอย่างกว้างขวางมากขึ้นก็ตาม แต่จะพบได้ว่าบุคลากรที่มีความสามารถจริงๆนั้นมีน้อยมาก
ประการที่สอง เสถียรภาพด้านการเมืองของประเทศไทยในช่วงเวลา 3-4 ปีจนกระทั่งปัจจุบัน สังเกตุได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังขาดเสถียรภาพ ขาดความพร้อมด้านการเมืองอยู่เป็นอย่างมาก ตัวอย่าง เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลก็จะเกิดปัญหาตามมาคือนโยบายที่ไม่ต่อเนื่องสอดคล้องกันเท่าที่ควรเป็น เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่นโยบายบางโยบายก็ถูกละทิ้งไปทำให้ประเทศไทยต้องเริ่มใหม่อยู่ตลอดเวลา และจากที่กล่าวถือเป็นข้อเสียลำดับต้นๆที่ทำลายความน่าเชื่อของต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนได้
ประการที่สาม เกิดการคอรัปชั่นในหน่วยงานต่างๆของรัฐ นำมาซึ่งปัญหาด้านการล่าช้าทางเศรษฐกิจ เมื่อเกิดความไม่โปร่งใสก็นำมาซึ่งความไม่ไว้ของผู้ร่วมลงทุน เกิดการล่าช้าในการตัดสิน และไม่ว่าจะเป็นการลงทุนของคนในประเทศเองก็เกิดการติดขัดในด้านต่างๆ เกิดการเสียค่าใช้จ่ายที่มากกว่าที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ
ประการสุดท้าย รัฐบาลแม้มีการสนับสนุนการลงทุนของเอกชนไทยในต่างประเทศแล้วในปัจจุบัน แต่สำหรับบางประเทศอย่างเช่นประเทศรัสเซียแล้วนั้น การที่เอกชนเข้าไปลงทุนในรัสเซียถือว่ามีน้อยมาก อันเนื่องมาจากปัญหาในหลายๆด้าน ตัวอย่างเช่น ความไม่ไว้ของผู้ประกอบการจากเหตุที่ว่ารัสเซียเองมีการเปลี่ยนแปลงจากระบอบคอมมิวนิสต์มาสู่ระบอบเสรีอย่างรวดเร็วทำให้อาจจะเกิดการขาดความรู้ ความเข้าใจในระบบตลาดเสรีว่าควรเป็นไปในทิศทางใด แต่อย่างไรแล้วรัสเซียก็ถือว่าเป็นประเทศที่น่าจับตามองและไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด
โอกาส (Opportunities)
ประการแรก การลงนามร่วมทางการค้านั้นเป็นการสร้างพันธมิตรทางเกิดค้าใหม่ให้กับประเทศไทยเอง นำมาซึ่งการพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ เช่น การที่ไทยได้เข้าร่วม WTO ซึ่งโดยหลักของ WTO นั้นจะมีหลักการไม่เลือปฏิบัติ ( MFN และ National Treatment) หลักการเรื่องความโปร่งใส หลักการคุ้มครองผู้ผลิตภายในด้วยภาษีศุลกากรเท่านั้น เป็นต้น รวมทั้ง ประโยชน์จากพันธกรณีที่สมาชิกผูกพันไว้ในความตกลงย่อยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลดภาษีศุลกากร การอุดหนุน และอุปสรรคทางการค้าต่างๆ การเปิดเสรีสินค้าเกษตร การเปิดเสรีสินค้าสิ่งทอ การใช้มาตรการสุขอนามัยต่างๆ ต้องเป็นไปด้วยความเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ เป็นต้น
ประการที่สอง นโยบายการเงินที่ผ่อนผัน อาทิ การซื้อคืนพันธบัตร การปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Bank Rate) และการผ่อนคลายมาตรการทางการเงินอื่นๆ เป็นต้น ทั้งนี้การดำเนินมาตรการต่างๆ ดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินปรับตัวลดลง ทำให้การลงทุนและเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น
อุปสรรค (Threats)
ประการแรก การพัฒนาจากประเทศใกล้เคียงซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาจนปัจจุบันมีศักยภาพเทียบเท่าไหน ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย พม่า เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในประเทศไทยยังขาดแคลนแรงงานในด้านต่างๆคนไทยส่วนใหญ่เข้าถึงระบบการเงินได้ยาก ประเทศไทยขาดการรับรองในการตรวจสอบผลผลิตต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน และขาดจุดเชื่อมต่อในการประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชน
ประการที่สอง ประเทศไทยนั้นนอดีตเป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาเป็นระยะเวลานาน กระทั่งปัจจุบันในแถบเอเชียนตะวันออกเฉียงนั้นหลายประเทศมีการพัฒนาในด้านของอุตสาหกรรมให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นและยังมีข้อดีในเรื่องของต้นทุนแรงที่มีค่าแรงถูกกว่าประเทศไทย จึงทำให้ต่างประเทศเริ่มหันไปให้ความสนใจกับประเทศอื่นมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ประเทศจีนและอินเดีย เป็นต้น
Lalita Ruatrew, Article analyst
BACHELOR OF ARTS B.A, RUSSIAN STUDIES 2013-2016 THAMMASAT UNIVERSITY BANGKOK (GPA: 3.68)
I GOT SCHOLARSHIP OF THAMMASAT U. (UNIVERSITY MOBILITY IN ASIA AND THE PACIFIC: UMAP) I WAS EXCHANGE STUDENT IN SAINT PETERSBURG STATE UNIVERSITY, RUSSIA. FEBRUARY 24-JUNE 23, 2015
MASTER’S PROGRAMME IN POLITICS AND GOVERNANCE NATIONAL RESEARCH UNIVERSITY HIGHER SCHOOL OF ECONOMICS (HSE), ST. PETERSBURG 2017-2018
E-mail: newyork.mcc@hotmail.com, WhatsApp: +79679794769, line: newyork1415
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น