ประวัติความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย อดีต ปัจจุบัน อนาคต
 (ตอนที่ 1)


        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว (รัชกาลที่5) ทรงฉายพระบรมรูปคู่กับพระเจ้า ซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งประเทศรัสเซีย ที่พระราชวังปีเตอร์ฮอฟ (Peterhof) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม .. 116 (ปี .. 1897) ในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก อีกทั้งภาพนี้ยังช่วยให้ประเทศไทย รอดพ้นจากการถูกล่าอาณานิคมจากตะวันตกอย่างฝรั่งเศสและอังกฤษอีกด้วย


ในภาพอาจจะมี 2 คน, สถานที่กลางแจ้ง

อ้างอิง: สุบรรณ เศวตมาลย์, ภาพที่ช่วยให้สยามอยู่ยั่ง ยืนยง, (ห้องสมุดกระทรวงการต่างประเทศ): 1, อ้างถึงใน หนังสือพิมพ์ลิลลุสตราซอง(L'Illustration) ของฝรั่งเศส เดือนกันยายน ปี .. 1897.

        การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยต่อรัสเซีย ทั้งในสมัยของผู้นำสยามกับผู้นำไทยในสมัยปัจจุบัน มีปัจจัยในด้านต่างๆ ที่ส่งผลต่อการการตัดสินใจในการดำเนินความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาถึงปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่เข้ามาในการเมืองภายในของประเทศไทย  

ปัจจัยภายในที่เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องการที่จะทำให้ประเทศไทยมีความทันสมัย มีการพัฒนาประเทศ เพราะในสมัยนั้นประเทศอินโดจีนถูกรุกรานจากประเทศตะวันตกอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส เนื่องจากประเทศแถบนี้ด้อยพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยก็เผชิญกับสภาวะนี้ ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชประสงค์เสด็จประพาสยุโรป เพื่อต้องการศึกษาวิทยาการต่างๆ และกิจการบ้านเมืองของประเทศนั้นๆ และนำมาพัฒนาและปรับปรุงประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรือง พระองค์ทรงริเริ่มนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เช่น สร้างถนน ขุดคูคลอง จัดให้มีการปกครอง ไฟฟ้า ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ เป็นต้น และเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาอำนาจตะวันตก ทำให้สายตาของชาวต่างชาติมองประเทศไทยต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ และด้วยการวางวิเทโศบายทางการทูตกับชาติตะวันตกอย่างเหมาะสม ยอมรับว่าชาวยุโรปเป็นชาติที่เจริญ ให้เกียรติและยกย่อง พร้อมกับเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติบางอย่าง เพื่อให้เห็นว่าประเทศไทยไม่ใช่ชนชาติบ้านป่าเมืองเถื่อน เช่น ให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า นอกจากนั้น ยังยอมผ่อนปรนอย่างชาญฉลาด แม้จะเสียผลประโยชน์หรือดินแดนไปบ้าง แต่ก็เป็นส่วนน้อย ยังสามารถรักษาส่วนใหญ่ไว้ได้ ทำให้ประเทศไทยคงความเป็นชาติที่มีเอกราชมาได้ตลอด 

ต่อมาได้มีการเลิกทาส และมีการปรับปรุงระบบราชการของประเทศไทย รวมถึงการก่อตั้งกระทรวง ทบวง กรม พร้อมกันนั้นยังทรงปฏิรูปการศึกษาตามแบบตะวันตก เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย บุตรหลานขุนนาง หรือราษฎรสามัญชนที่พ้นจากความเป็นไพร่หรือทาสถ้าบุคคลใดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดก็จะมีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศตะวันตกโดยพระบรมราชานุเคราะห์จากผลการปฏิรูปการศึกษา ทำให้คนไทยบางกลุ่มที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก เริ่มรับเอากระแสความคิดเกี่ยวกับการเมืองสมัยใหม่ ที่ยึดถือรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากตะวันตก และมีความปรารถนาที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้นในประเทศไทย ทรงปฏิรูปประเทศเข้าสู่ความทันสมัย สังคมไทยก็เริ่มก้าวเข้าสู่ความมีเสรีในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น โดยเริ่มเปิดโอกาสสื่อมวลชนเสนอความคิดเห็นต่อสาธารณชนได้ค่อนข้างเสรี ดังนั้นประเทศมหาอำนาจตะวันตก ไม่สามารถนำปัญหาเรื่องความล้าหลังหรือกล่าวหาว่าประเทศไทยมีลักษณะป่าเถื่อน มาเป็นข้ออ้างเพื่อที่เข้ามาช่วยสร้างความเจริญให้ด้วยการเข้ามายึดครองประเทศสยาม การปรับโครงสร้างทางสังคมด้วยการเลิกทาสจึงเป็นการลดกระแสกดดันของลัทธิจักรวรรดินิยมได้ พระองค์จึงเร่งปรับปรุง และพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น 


ส่วนทางด้านปัจจัยภายนอก การเกิดสถานการณ์ทางการเมืองสากล โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคแห่งการล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส ในช่วงเวลาเดียวกันอังกฤษได้เริ่มคุกคามประเทศไทยด้วยการส่ง เฮนรี เบอร์นี (Henry Burney) เป็นทูตมาเจรจาเกี่ยวกับรัฐต่างๆ บนคาบสมุทรมลายู ชัยชนะที่ประเทศอังกฤษมีต่อประเทศพม่า ทำให้ประเทศไทยตระหนักว่าประเทศอังกฤษมีอำนาจทางทหารเหนือกว่า ประเทศไทยจึงยอมรับข้อเสนอของประเทศอังกฤษในช่วงปีค.. 1855 ประเทศอังกฤษได้ทำสัญญาการค้าที่เรียกว่า สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง (Treaty of Friendship and Commerce between the British Empire and the Kingdom of Siam) เป็นผลให้ไทยต้องเสียผลประโยชน์ทางการค้าและสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่ประเทศอังกฤษและต่อมาประเทศฝรั่งเศสก็เริ่มแผ่อิทธิ พลเข้าไปในดินแดนประเทศราชของไทย

      ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการในปี .. 1897 และได้ผ่านช่วงเวลาของยุคสมัยต่างๆ และได้มีการงปรับเปลี่ยนรูปแบบความสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับปัจจัยของการเมืองภายในของแต่ละประเทศและสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ความสัมพันธ์ด้านการเมืองระหว่างประเทศสยามกับประเทศรัสเซีย เริ่มต้นขึ้นในปีค..1897 เพราะก่อนหน้านี้ จะเป็นความสัมพันธ์ที่มีความสนิทชิดเชื้อกันระหว่างเชื้อพระวงศ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ของรัสเซียและสิ่งนี้ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสยามและประเทศรัสเซีย และต่อมาประเทศไทยได้ดึงเอาการเสด็จประพาสรัสเซียของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (3 - 11 กรกฎาคม ปี .. 1897) เป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน และได้มีการแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการทูตระหว่างกันในเวลาต่อมา โดยไทยได้แต่งตั้งอัครราชทูตประจำกรุงปารีสเป็นอัครราชทูตประจำนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg) ของประเทศรัสเซียเมื่อเดือนตุลาคม ปี .. 1897 และในปีค.. 1898 ประเทศรัสเซียได้ส่งเคานท์อเล็กซานเดอร์ โลลารอฟสกี้ มาเป็นกงสุลรัสเซียประจำกรุงเทพฯ    

        ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศรัสเซียในช่วงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 มีความใกล้ชิดเพราะเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการระหว่างสองพระองค์ ประเทศไทยกับประเทศรัสเซียนั้นมีความสัมพันธ์ทางการทูตกันมาในตั้งแต่สมัยที่ประเทศรัสเซียยังคงเป็นจักรวรรดิรัสเซียภายใต้การปกครองของสมัยซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งราชวงศ์โรมานอฟ 

ประวัติศาสตร์การยึดครองอย่างค่อยเป็นค่อยไปของและประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษในอินโดจีนได้สะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้ของลัทธิล่าอาณานิคมของทั้ง 2 ประเทศ ในการที่มีมหาอำนาจประเทศฝรั่งเศส และประเทศในตะวันออกใหม่ ซึ่งกำลังเติบโตและมั่นคงขึ้นเป็นประเทศเพื่อนบ้าน บรรดาผู้ปกครองอินเดียไม่สามารถมองดูอย่างสงบได้อย่างแน่นอน ความสำเร็จทั้งหมดของประเทศฝรั่งเศสในแนวทางที่แสดงให้เห็นนั้น ได้กลายเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ของพวกเขา อีกทั้งยังส่งผลกระทบกระเทือนต่อภาพลักษณ์ของประเทศอังกฤษในภูมิภาคนี้อีกด้วย โดยว่าทั้งประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษนั้นเป็นที่รู้กันว่า ความสัมพันธ์ของคู่แข่งสองประเทศนี้ในดินแดนของประเทศสยามมีลักษณะการต่อสู้อย่างสม่ำเสมอ แม้จะไม่ชัดแจ้ง แต่ทุกครั้งก็เป็นไปอย่างมุ่งมั่น และการต่อสู้ของประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษนั้นไม่ถึงขั้นการตัดความสัมพันธ์อย่างเปิดเผยอันเป็นผลเนื่องจากความหวาดกลัวของประเทศอังกฤษที่จะมีการก่อให้เกิดการปะทะกัน และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ถ้าประเทศอังกฤษพ่ายแพ้ก็จะทำให้ทำลายความสำคัญของการเป็นเจ้าอาณานิคมที่ยิ่งใหญ่ของสหราชอาณาจักรลงจนหมดสิ้น การป้องกันไม่ให้เกิดผลเช่นนี้มีความสำคัญมากสำคัญประเทศอังกฤษ เพราะความเคลื่อนไหวทั้งหมดจากการดำเนินการของประเทศฝรั่งเศสโดยวิธีแผ่อิทธิพลของตนในบริเวณนอกเขตแม่น้ำคงคาของประเทศอินเดียช่วยให้ประเทศฝรั่งเศสบรรลุเป้าหมายที่ต้องการอย่างมุ่งมั่นนั้นคือ การขยายเขตการค้าและกิจการทางอุตสาหกรรมของตนในจังหวัดทางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งในขณะเดียวกันนั้นประเทศอังกฤษก็ยังต้องการดินแดนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนไว้เช่นกัน จากมุมมองนี้เองบริเวณขอบเขตของปัญหาได้ขยายและความเกี่ยวพันของมหาอำนาจทั้งสองกับประเทศสยามมีความสัมพันธ์กับผลประโยชน์ของพวกเขาในเนื้อที่ที่กว้างใหญ่ไพศาลของจักรวรรดิจีนซึ่งกลายเป็นสาเหตุของความบาดหมางระหว่างประเทศทางตะวันออก


เหตุผลที่กล่าวถึงแล้วนี้อธิบายได้อย่างแจ่มแจ้งถึงความปรารถนาของประเทศอังกฤษที่จะดำเนินความสัมพันธ์ ที่นำไปสู่การตกลงกับคู่แข่งของตนเพื่อที่จะผูกมัดคู่แข่งด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งด้วยพันธะซึ่งอาจจะใช้เป็นเครื่องค้ำประกันได้บ้างในการต่อต้านความต้องการของประเทศฝรั่งเศสในการขยายกรรมสิทธิ์ของอินโดจีนในส่วนของตนไปสู่ส่วนที่เป็นของราชอาณาจักรเพื่อนบ้าน

        ในตอนต้นปี .. 1896 คณะรัฐบาลของลอนดอนได้ประสบความสำเร็จในการแลกเปลี่ยนคำประกาศกับรัฐบาลของปารีสในเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วๆ ไปในประเทศสยามและการกำหนดพรมแดนระหว่างตังเกี๋ยและประเทศพม่าตามแนวแม่น้ำโขงตอนบน คำประกาศฉบับนี้เป็นรากฐานที่ดีของความสัมพันธ์ของคู่แข่งทั้งสองในลุ่มแม่น้ำ ในปัจจุบันคำประกาศฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นกลางในระดับหนึ่งที่ประเทศสยามปกครองและผูกมัดให้คู่สัญญาที่ได้ตกลงกันให้ละเว้นการยึดครองและหยุดพฤติกรรมที่ก้าวร้าวต่อประเทศสยาม แต่นโยบายของฝรั่งเศสมีลักษณะท้าทายประเทศสยามราวกับพิสูจน์การทะเลาะกันระหว่างรัฐบาลประเทศสยามกับประเทศฝรั่งเศส จากการที่ประเทศฝรั่งเศสตีความอย่างไม่ยุติธรรมอย่างเห็นได้ชัดเจนของความตกลงที่ทำกับราชอาณาจักรใน ปี .. 1893 หลังจากที่ได้รับชัยชนะจากการปะทะกันของเรือลาดตระเวนของประเทศฝรั่งเศส 2 ลำ กับกองทัพเรือรบของประเทศสยาม
        อำนาจของข้อตกลงนี้ได้รับการรับรองโดยคำประกาศซึ่งแลกเปลี่ยนกับประเทศอังกฤษในปี .. 1896 และเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดของข้อตกลงนี้ ประกอบด้วย การรับรองว่าแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนประเทศกั้นระหว่างดินแดนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศฝรั่งเศสและประเทศสยาม ในการนี้ห้ามราชอาณาจักรสร้างป้อมปราการและมีทหารชายแดนไว้ในแนวที่ว่างมีความกว้าง 25 กิโลเมตรไปตลอดแนวฝั่งขวาของแม่น้ำ การจำกัดสิทธิสูงสุดของพระมหากษัตริย์แบบนี้ เป็นการตีความโดยชาวฝรั่งเศสเพื่อผลประโยชน์ของตนและในทางปฏิบัติพวกเขาพยายามทุกวิธีทางที่จะกำหนดอำนาจสูงสุดของตนในเขตนี้ นอกจากนี้แล้วพวกเขายังอ้างสิทธิในเขตหลวงพระบาง ซึ่งเป็นเขตที่มั่งคั่งและอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากเขตนี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นของอันนัมซึ่งเป็นรัฐรัฐหนึ่งในอารักขาของประเทศฝรั่งเศส ปัญหานี้มีความสำคัญซึ่งหากตระหนักว่าการยินยอมใดๆ ก็ตาม
        ในกรณีนี้เป็นแบบอย่างซึ่งจะทำให้มีการยึดถือเป็นหลักปฏิบัติโดยชอบธรรมในการยึดครองและอ้างสิทธิ์ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไปในอนาคต ท้ายที่สุด หลังการทำความตกลงในปี .. 1893 บรรดาผู้แทนกงสุลประเทศฝรั่งเศสเริ่มให้ความอนุเคราะห์ของประเทศฝรั่งเศสหรือกล่าวได้ว่า การนำชื่อของคนที่มีสัญชาติประเทศสยามแท้ๆ เป็นจำนวนมากเขียนลงไปในบัญชีของคนในบังคับของสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยอ้างว่าพวกเขาเป็นญาติกับชาวพื้นเมืองซึ่งแยกออกไปอยู่ในเขตของประเทศฝรั่งเศส การกระทำเช่นนี้ของประเทศฝรั่งเศสเป็นการทำลายอำนาจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นอย่างมาก สร้างความยากลำบากอย่างยิ่งในการรับภาระเกี่ยวกับการพิจารณาคดี ปัญหาเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหารและที่สำคัญคือ ทำให้ประเทศฝรั่งเศสมีพื้นฐานอันถาวรในการแทรกแซงกิจการภายในสร้างความกดดัน และพยายามทำให้รัฐบาลประเทศสยามตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของตน

ความเข้าใจผิดทั้งหลายที่ปรากฏขึ้นเกี่ยวกับกรณีที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ ทางประเทศสยามยังมองไม่เห็นข้อยุติ เพราะไม่มีใครใส่ใจคำร้องและคำอธิบายของประเทศสยามและดูเหมือนว่ารัฐบาลฝรั่งเศสจะไม่รีบเร่งแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ของตนกับราชอาณาจักรสยามให้เด็ดขาดตามมาตราที่ 5 ซึ่งได้กำหนดไว้ในข้อตกลงปี .. 1893 และลงมือกำหนดระเบียบทางด้านศุลกากรและกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการค้าในบริเวณพรมแดนและเริ่มลงมือทบทวนข้อตกลงปี .. 1856 ด้วยเช่นกัน เหมือนจะรักษาความไม่ชัดเจนในภารกิจทั้งหมดโดยเจตนา เพื่อจะใช้เหตุการณ์เหล่านี้เพื่อผลประโยชน์ของนโยบายของตน 

นอกจากนี้ชาวฝรั่งเศสยังดำเนินการเข้ายึดครองจังหวัดที่ติดกันของประเทศสยามที่ได้ยึดครองไว้ตั้งแต่ช่วงปี .. 1891 คือพระตะบอง อันกอร์ และชิมบุน การที่ประเทศฝรั่งเศสยังยึดครอง 3 จังหวัดนี้ทำให้ประเทศฝรั่งเศสยังคงมีเครื่องมือที่สำคัญมากอยู่ในมือที่จะใช้กดดันรัฐบาลท้องถิ่น

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสมีความตึงเครียดมากขึ้นคือ การเอนเอียงเข้าหาประเทศอังกฤษอย่างเห็นได้ชัดเจนของประเทศสยามซึ่งได้สร้างความไม่พอใจของพระมหากษัตริย์ของฝรั่งเศสที่มีต่อประเทศอังกฤษ รวมทั้งทรงเกรงกลัวอันตราย อันทั้งประเทศอังกฤษได้ให้คำแนะนำแก่กษัตริย์ของไทยว่า หากประเทศสยามใกล้ชิดกับประเทศอังกฤษ ประเทศสยามสามารถรอดพ้นจากการยึดดินแดนจากประเทศฝรั่งเศสได้ ทั้งนี้ประเทศสยามค่อนข้างมีความไม่พอใจกับความคิดกดดันและการใช้อิทธิพลของประเทศอังกฤษ แต่ประเทศสยามก็จำเป็นต้องยอมจำนนต่อประเทศอังกฤษ เพราะความเกรงกลัวประเทศฝรั่งเศส อีกทั้งประเทศสยามก็ไม่สามารถถ่วงดุลอำนาจกับประเทศอังกฤษได้

ในด้านอื่นๆ ประเทศอังกฤษไม่หยุดที่จะขยายความต้องการของตนเข้าไปตลอดแหลมมลายู ความพยายามเข้าครอบครองมะลักกายังมีความสำคัญยิ่งขึ้นหากคำนึงถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในการขุดคลองทะลุคอคอดกระ เนื่องจากคลองสายนี้ไม่เพียงแต่จะลดระยะทางในการคมนาคมระหว่างประเทศแต่ยังมีความสำคัญในด้านคมนาคมภายในท้องถิ่นที่สะดวกสบายยิ่งขึ้นแสดงให้เห็นผลประโยชน์ที่สำคัญซึ่งสหราชอาณาจักรจะได้รับจากประเทศเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน

        จากทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทำให้เห็นว่าสถานการณ์ของประเทศสยาม ขณะนั้น จากการที่ทั้งประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ ค่อยๆ กดดันประเทศสยาม โดยทั้ง 2 ประเทศจะกระทำสิ่งที่ทำให้ตนบรรลุความมุ่งหมายที่ได้วางไว้

ประมุขแห่งสยามซึ่งเป็นผู้ที่มีการศึกษา มีความคิดก้าวหน้าและต้องการพัฒนาประเทศ ท่านทรงมองเห็นอันตรายที่มีต่อประเทศของพระองค์ เนื่องจากการต่อสู้ที่ไม่เท่าเทียมกันกับบรรดาประเทศเพื่อนบ้านและต้องการแสวงหาการสนับสนุนจากภายนอก เพื่อช่วยเหลือประเทศสยามในการรักษาอธิปไตยของตนและปฏิบัติตามวิถีทางความเจริญและก้าวหน้าอย่างสันติ


        ตามทรรศนะของประเทศสยามมองว่า ประเทศรัสเซียเป็นผู้ถือหลักการสูงสุดของความยุติธรรมและเป็นธรรมในนโยบายการต่อต้านการยึดครองและการบังคับขู่เข็ญที่ประเทศตะวันตกกระทำกับประเทศสยาม

        โดยพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้ทรงกล่าวกับ นายอา.เย โอรารอฟสกี้ (ซึ่งตอนนั้นเป็นอุปทูตรัสเซียประจำประเทศสยาม) เกี่ยวกับพื้นฐาน 4 ประการ ในการปฏิบัติหน้าที่ของตนว่า การกระทำทุกอย่างของท่านต้องสะท้อนให้เห็นถึงน้ำพระทัยอันเมตตากรุณาของสมเด็จพระจักรพรรดิที่ทรงมีต่อพระมหากษัตริย์เป็นส่วนพระองค์และต่อชะตากรรมของราษฎรที่พระองค์ปกครอง การกระทำของท่านต้องตอบสนองความจริงใจและไมตรีจิตซึ่งประเทศสยามถือเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์ของตนกับประเทศรัสเซียเช่นเดียวกัน การกระทำของท่านไม่ควรจะเป็นไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์และไม่ควรพยายามที่จะให้ได้มาซึ่งการได้เปรียบ ท้ายที่สุดการกระทำของท่านต้องสนองตอบความต้องการของประเทศสยามซึ่งต้องการความเอาใจใส่ต่อผลประโยชน์ของเขาจากประเทศรัสเซียและต้องการให้ประเทศรัสเซียให้การสนับสนุนด้านคุณธรรมที่จำเป็นในการต่อสู้อันไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศสยามกับประเทศฝรั่งเศส

        ซึ่งหากท่านตั้งอยู่บนพื้นฐานนี้ ท่านจะได้รับความไว้วางใจจากพระมหากษัตริย์และเหล่าที่ปรึกษาของพระองค์ได้ไม่ยาก และในประเทศสยามจะมีฐานะอันมีเกียรติและอิทธิพลของผู้แทนของประเทศมหาอำนาจอันยิ่งใหญ่ ซึ่งรู้กำลังของตนและความสำคัญของนโยบายอันแข็งแกร่งและตรงไปตรงมา และการที่ประเทศรัสเซียสามารถช่วยเหลือประเทศไทยได้ มันก็จะส่งผลให้ประเทศรัสเซียสามารถขัดขวางการขยายอิทธิพลของประเทศอังกฤษในแถบอินโดจีน



อ้างอิง: ภาคนิพนธ์ ความสัมพันธ์ ไทย-รัสเซีย ในกรณีศึกษาการเปรียบเทียบปัจจัยการประพาสรัสเซียของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในช่วงปี ..1897) กับการเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (ในช่วงปี .. 2014 - 2016) ชื่อผู้เขียน นางสาวลลิตา รวดเร็ว 





 
 Lalita Ruatrew, Article analyst

BACHELOR OF ARTS B.A, RUSSIAN STUDIES 2013-2016 THAMMASAT UNIVERSITY BANGKOK (GPA: 3.68) 

I GOT SCHOLARSHIP OF THAMMASAT U. (UNIVERSITY MOBILITY IN ASIA AND THE PACIFIC: UMAP) I WAS EXCHANGE STUDENT IN SAINT PETERSBURG STATE UNIVERSITY, RUSSIA. FEBRUARY 24-JUNE 23, 2015 

MASTER’S PROGRAMME IN POLITICS AND GOVERNANCE NATIONAL RESEARCH UNIVERSITY HIGHER SCHOOL OF ECONOMICS (HSE), ST. PETERSBURG 2017-2018 

E-mail: newyork.mcc@hotmail.com, WhatsApp: +79679794769, line: newyork1415 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย อดีต ปัจจุบัน อนาคต
 (ตอนที่ 2)

การค้าสินค้าเกษตรในประชาคมรัฐเอกราช (CIS)

วิกฤตการณ์ทางการเมืองในปี ค.ศ. 1993 (ตอนที่ 1)